ยินดีต้อนรับเข้า สู่เวปของ " กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา " สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 ....วิสัยทัศน์...มุ่งสู่การเป็นองค์กร สร้างวัฒนธรรมคุณภาพ ที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของสังคม บนพื้นฐานการทำงานแบบกัลยาณมิตร...
   

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

  เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอนครูต้นแบบ Best Practices ที่ประสบผลสำเร็จสูง
                            ระดับประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 1และ 2) ใน สพท.ปข.2

   นางทัศนีย์ ช่อเทียนทิพย์
   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
   วุฒิการศึกษา ค.บ. สาขาวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
   เกิดวันที่ 31 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2499 ที่อยู่ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 72 หมู่ 6 ตำบลศาลาลัย
   กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77180 โทร.032-688342,09-7424072
   ปัจจุบันสอนโรงเรียนบ้านหนองคาง ตำบลศิลาลอย กิ่งอำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
   รหัสไปรษณีย์ 77180 โทร. 032-684108
   ผู้บริหารโรงเรียน นายสมัคร ปัญญาพานิช โทร. 01-6525495
   เริ่มบรรจุเป็นครู วันที่ - เดือน - พ.ศ. -
   ประสบการณ์การสอน 26 ปี สอนดีเด่นในวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3,5-6,ม.1

   ผลงานดีเด่นที่เคยได้รับ

- เป็นบุคลากรต้นแบบการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และได้รับรางวัลครูเกียรติยศ
- รางวัล “BEST TEACHER OF THAILAND 2001” ประเภทครูผู้สอน

   สภาพปัญหาการเรียนการสอน (เดิม)

   จากประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์มาสามโรงเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามา 20 ปี พบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนยังขาดการลงมือปฏิบัติงานด้วยตนเองหรือทำงานร่วมกับเพื่อน ๆ ไม่เชื่อมโยงเนื้อหาสู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และทั้งยังขาดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทำให้ผู้เรียน หลายคนเรียนไม่รู้เรื่อง จึงเกิดการเบื่อหน่ายในการเรียน

   เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน หรือการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอน ของท่าน จนนำไปสู่ผลสำเร็จอย่างดี

   จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวด 4 แนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยใช้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองจริง ทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะพร้อมทั้งปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้เรียนเสมอและติดตามประเมินผล และแนะนำซ่อมเสริมแก้ปัญหาผู้เรียน โดยทำการวิจัยอยู่เสมอ
กระบวนการหรือเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนาคือ การนำการเรียนการสอนที่หลากหลายมาประยุกต์ใช้ โดยมีขั้นตอนการสอนแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ    

   ขั้นเตรียมการสอนและขั้นทำการสอน
   ขั้นเตรียมการสอน
   โดยการวางแผนการสอนตลอดภาคเรียน มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและวิเคราะห์หลักสูตร กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นรายคาบ หาเทคนิควิธีการสอน กลวิธี (PLAY BOOK) และสื่อการสอน เช่น เพลง เกม บทเรียนสำเร็จรูป สื่อประเภทอุปกรณ์ทั้งของจริงของจำลองต่าง ๆ และสื่อ IT ต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นมาให้เหมาะสมสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้ กำหนดแนวทางการประเมินผลให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการประเมินจากหลาย ๆ ส่วน เช่น การสังเกต จากผลงานที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้เอง แบบทดสอบ เป็นต้น โดยมุ่งประเมินตามสภาพจริงจากกิจกรรมการสอน
   ขั้นทำการสอน
   การนำเข้าสู่บทเรียน โดยการอุ่นเครื่องเป็นการเตรียมความพร้อม (ใจ,กาย,จิต) และเป็นการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของผู้เรียนสู่ประสบการณ์ใหม่ โดยใช้สื่อสนุกและคำถามมหัศจรรย์
ขั้นเนื้อหาสาระ ให้ผู้เรียนคิดเฉพาะตนและนำความคิดของแต่ละคนมาระดมสมองออกเป็นความคิดของกลุ่มและผลิตผลงานขึ้นมา โดยได้มีการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและมีการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและสนุกสนานอันเป็นการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
ขั้นสรุปเชื่อมโยง เป็นการสร้างองค์ความรู้หรือการนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในท้องถิ่นในชีวิตประจำวันหรือการทำโครงงาน เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องการทำกระดาษจากใยสับปะรด โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่องศึกษาอัตราส่วนของปุ๋ยพืชสดที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นฟักทอง เป็นต้น
   การประเมินผลตามสภาพความเป็นจริง เป็นการประเมินเพื่อการปรับปรุงพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งจะประเมินทั้งในส่วนของความรู้ คุณธรรม จริยธรรม(จิตพิสัย) และทักษะกระบวนการมิได้เน้นที่การประเมินในส่วนของความรู้จากการใช้แบบทดสอบเพียงอย่างเดียว
จากการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ให้ผู้เรียนสนุกมีความรู้คู่คุณธรรมนั้น ได้คิดจากกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนดังนี้คือ
1. การที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ผู้เรียนจะสนุกกับการเรียนจะทำให้การจัดกระบวนการเรียนการสอนเป็นไปด้วยดีและมีผลสัมฤทธิ์ที่ดี
2. การที่ให้ผู้เรียนได้รู้ผลของการกระทำ ทำให้ผู้เรียนได้เห็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นและจะนำมาซึ่งการแสดงออก และกล้าตัดสินใจในการทำงานจะนำมาซึ่งเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ผู้เรียนจะตั้งใจในการพัฒนางานให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
3. การให้ผู้เรียนได้ประเมินผลงานตนเอง ทำให้เขารู้จักตนเองมากขึ้น และการรู้จักยอมรับในผลงานของตนเองอันจะนำไปสู่นิสัยในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย
จากการที่จัดการเรียนการสอนที่เน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ปรากฎว่า ทำงานดีขึ้น ผู้เรียนเก่งขึ้น เรียนอย่างมีความสุขและสนุกสนาน มีกระบวนการคิดติดค้างอยู่ในตัวผู้เรียน จึงนับว่าแนวทางปฏิรูปการศึกษาแนวนี้เป็นผลดีต่อการพัฒนาการศึกษาของเยาวชนของชาติในอนาคตอย่างแน่นอน

   แนวทางที่จะพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต

   ได้ศึกษา วิเคราะห์นักเรียนเพื่อใช้ฐานข้อมูลพัฒนานักเรียน มีการจัดการเรียนรู้โดยสำรวจความต้องการของชุมชนในท้องถิ่นและข้อมูลจากนักเรียนรายบุคคลเป็นหลัก พัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนและท้องถิ่นจากการเป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียนได้รับมอบหมายจากผู้บริหารให้ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับท้องถิ่น โดยมีครูผู้สอนในโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาร่วมกันวางแผนจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นระดับสถานศึกษา “ทุ่งหนองคาง” ซึ่งได้จัดการเรียนรู้บูรณาการทุกช่วงชั้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้อย่างหลากหลายที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยให้มีความรู้คู่คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้บูรณาการตามความเหมาะสมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด และฝึกปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจริง รู้จักการทำงานเป็นขั้นตอนแบบนักวิทยาศาสตร์ โดยการทำโครงงานวิทยาศาสตร์แก้ไขปัญหาของสังคมท้องถิ่นตนเอง รู้จักทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะรักสามัคคี มีน้ำใจ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมไปบูรณาการในการเรียนวิชาต่าง ๆ ได้ โดยการนำสิ่งที่เกิดปัญหาและวัสดุที่เหลือใช้ในชีวิตประจำวันมาทำให้เกิดประโยชน์ ตลอดจนปลูกฝังส่งเสริมคุณนิสัยของผู้เรียนให้รู้จักการประหยัดและออม ทำให้ผู้เรียนรู้จักวางแผนการใช้จ่ายเงินเก็บเงินออมจากค่าขนม การร่วมประหยัดน้ำ ไฟฟ้า ให้แก่ทางราชการเมื่อมาโรงเรียนและอยู่ที่บ้าน การใช้อุปกรณ์การเรียน สมุด หนังสือ ให้คุ้มค่า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่าของผู้ปกครอง การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด

   ปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะ

   ในการจัดการศึกษาเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจครอบครัวของผู้เรียนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำกสิกรรมและรับจ้างหาเช้ากินค่ำ จึงไม่มีเวลาคอยดูแลเอาใจใส่บุตรหลานเมื่อทางโรงเรียนมีการประชุมผู้ปกครองจึงไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร ซึ่งทางโรงเรียนและครูได้แก้ไขโดยการแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในโรงเรียนและครูได้ออกเยี่ยมบ้านผู้เรียนเพื่อพบผู้ปกครองไต่ถามความเป็นอยู่และปรึกษาเรื่องด้านการศึกษาของบุตรหลาน และเป็นการป้องกันในเรื่องสิ่งเสพติด ปัญหาการขาดเรียนหรือปัญหาในด้านต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเรียนของผู้เรียน

ระดับมัธยมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 3 และ 4) ใน สพท.ปข.2

   นางวาสนา แซ่ตั้ง
   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
   วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิชา วิทยาศาสตร์บัณฑิต เอกชีววิทยา
   เกิดวันที่ 13 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2501 ที่อยู่ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 232 ตำบลปราณบุรี
   อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77120 โทร. 032-621512
   ปัจจุบันสอนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการปราณบุรี ตำบลปราณบุรี อำเภอปราณบุรี
   จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รหัสไปรษณีย์ 77120 โทร. 032-622188
   ผู้บริหารโรงเรียน นายบุญนำ เลาห์สถิต
   เริ่มบรรจุเป็นครู วันที่ 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2522
   ประสบการณ์การสอน 26 ปี สอนดีเด่นในวิชา วิทยาศาสตร์ ชั้น ม.1, ม.6

   ผลงานดีเด่นที่เคยได้รับ

1. ผลงานวิชาการ แผนการสอน สื่อการสอน
2. ผลงานการเป็นครูแกนนำวิชาชีววิทยาของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

   สภาพปัญหาการเรียนการสอนเดิม

1. นักเรียนไม่ค่อยสนใจการเรียน ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนต่ำ
2. เวลาเรียนไม่พอ เพราะมีกิจกรรมอื่น ๆ มาแทรก
3. นักเรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

   เทคนิควิธีการจัดการเรียนการสอน หรือการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอนของท่าน จนนำไปสู่ผลสำเร็จอย่างดี

1. ผลิตสื่อการสอนเพิ่มเติม ได้แก่ ใบงาน ใบความรู้ เอกสารประกอบการสอน สื่ออื่น ๆ (แผ่นใส สื่อ IT) แบบฝึกเสริมทักษะ
2. จัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่มเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการเป็นนักวิทยาศาสตร์
3. มีการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน
4. มีการจัดสอนเสริมให้กับนักเรียนอ่อน
5. ฝึกนักเรียนให้ค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต หรือแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ

   แนวทางที่จะพัฒนาการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต

1. ผลิตสื่อการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปศึกษาด้วยตนเองเพื่อเพิ่มความรู้
2. จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์
   ปัญหาอุปสรรค/ข้อเสนอแนะ